การตีโปงลางเบื้องต้น
การตีโปงลางจะนั่งกับพื้นหรือยืน ในท่าที่ถนัด โดยจะอยู่ด้านซ้ายของโปงลาง ดังนี้
1. จับไม้ตีโปงลางให้แน่น
2. ฝึกไล่เสียงจากจากเสียงต่ำ ไปหาเสียงสูง และจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำ ในลักษณะสลับมือซ้าย-ขวา
3. ฝีกตีกรอ รัว สะบัด
4. ฝีกบรรเลงลายที่ง่ายๆ เช่น ลายโปงลาง เต้ย ลายภูไท เป็นต้น
ลักษณะเสียงโปงลาง
การเคาะโปงลาง
โปงลางเป็นเครื่องดนตรีที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เวลาเคาะจึงมีเสียงแกร่งสั้น และห้วน ถ้าเราเคาะโน้ต 1 หรือ 2 จังหวะ จะได้เสียงไม่ไพเราะ เพราะเสียงนั้นไม่มีกังวาล ผู้ฝึกหัดจึงสมควรที่จะฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ฝึกเคาะรัวถี่แทนตัวโน้ต หรือซอยโน้ตให้ย่อยออกเป็นตัวเขบ็จ 1 ชั้น 2 ชั้น เป็นต้น
2. ผู้ฝึกจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องฝึกเคาะจังหวะตามทำนองหลักให้ตนเองได้ยินจนแม่นยำก่อน แล้ว
จึงฝึกซอยโน้ตทีหลัง
3. โดยทั่วไป ผู้เคาะโปงลางมีอยู่ 2 คน ผู้ที่เล่นทำนองนั้นจะเรียกว่า “หมอเคาะ” ส่วนอีกคนหนึ่ง
จะเล่นเสียงประสาน เรียกว่า “ หมอเสิบ” หมอเสิบนั้นเป็นผู้ช่วยทำจังหวะและทำเสียงทุ้ม
การเคาะลูกโปงลาง อย่าเคาะตรงลงไปหนักๆตรงๆ จะทำให้เสียงกระด้าง ให้เคาะอย่างนิ่มนวล หรือเคาะแฉลบออกอย่างสม่ำเสมอ
การตีโปงลางเบื้องต้น
การฝึกดนตรีไม่ว่าจะชิ้นใดต้องอาศัยการฝึกอย่างสม่ำเสมอ ฝึกอย่างต่อเนือง ฝึกจนชำนาญ ฝึกมากเก่งมาก ฝึกบ้างอยุดบ้าง ก็อาจจะไม่ได้อะไร การตีโปงลางก็เช่นกันก็ต้องฝึกบ่อยๆ จนชำนาญ
วิธีการฝึก
๑. จะนั่นตีหรือยืนตีก็ได้ ตามความถนัด โดยจะอยู่ทางด้านซ้ายของโปงลาง
๒. การจับมือตี จะต้องจับให้ถนัดไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
๓. ฝึกสัมผัสมือและการจำตัวโน้ต โดยใช้มือซ้าย-ขวา ตีสลับกันไปทีละเสียงจากเสียงบนสุดถึงเสียงล่างสุดและจากล่างสุดถึงบนสุด ตามจังหวะอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ รอบ
๔. ฝึกการสัมผัสมือ โดยแยกมือ ใช้มือขวาตีเสียงจากบนสุดถึงล่างสุดและจากล่างสุดถึงบนสุดแต่ใช้มือซ้ายตีอยู่เสียงเดียวคือ "ล" ( เสียงที่ ๓ จากด้านบน ) ตี ๒ มือพร้อมกันตามจังหวะอย่างสม่ำเสมอ หรือครูเป็นผู้เคาะจังหวะตาม
๕. ฝึกการสัมผัสแยกมือแยกเสียง ใช้มือซ้ายอยู่ที่เสียงเดียว เช่นเดียวกับข้อ ๔ และมือขวาตีไล่เสียงจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบนทีละเสียง แต่ตีเสียงละ ๒ ครั้ง จึงเปลี่ยน ส่วนมือซ้ายตีพร้อมมือขวาในจังหวะที่ ๒ ในแต่ละเสียง ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจังหวะสม่ำเสมอ
๖. ฝึกการ กรอ รัว สะบัด
กรอ - คือการตีมือซ้าย-ขวา สลับกันถี่ ๆ จากช้าไปหาเร็ว โดยตีมือซ้ายก่อน ที่โน้ตเสียงลาต่ำ "ลฺ" และมือขวาตีโน้ตชื่อเดียวกันที่เสียงลาสูง "ลํ"
รัว - คือการตีมือซ้าย-ขวา สลับกันถี่ ๆ จากช้าไปหาเร็ว ที่โน้ตตัวเดียวกันทั้ง ๒ มือ
สะบัด- คือการตีมือ ขวา-ซ้าย-ขวา สลับกันอย่าวเร็ว โดยใช้โน้ต ๓ ตัว จากล่างขึ้นบนหรือจากบนลงล่างก่อนก็ได้
๗. เมื่อฝึกขั้นตอนเบื้องต้นได้ชำนาญแล้ว ครูจึงต่อเพลงให้ โดยเริ่มเพลงที่มีจังหวะ ช้า ๆ สั้นๆ ง่ายกับการจำก่อนแล้วค่อยเพิ่มความยากขึ้น ในขณะที่ฝึกครูเป็นผู้ควบคุมจังหวะให้เล่นจากช้าๆ ไปหาเร็ว
บรรณานุกรม
สุรพล เนสุสินธ์ต(2546) “วิชาดนตรีอีสาน 1”(ออนไลน์) สืบค้นจาก
http://www.trsc.ac.th/web_load_st/std/pong3.html วันที่สืบค้น 20 ตุลาคม 2557.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น