ประวัติเความเป็นมาครื่องดนตรีพื้นบ้านโปงลาง

                       

                                                     ประวัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านโปงลาง





               โปงลาง หรือเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากเตอะเดิน เป็นเครื่องดนตรีที่พัฒนามาจาก " เกราะลอ " หรือ " ขอลอ " คำว่า โปงลางนี้ใช้เรียกดนตรีชนิดหนึ่งที่มีการละเล่นแพร่หลายทางภาคอีสานตอนกลางและตอนเหนือบางส่วน โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเล่นแพร่หลายมาก เพราะเป็นกำเนิดโปงลาง ความหมายของโปงลางนั้นมี 2 คำ คือ คำว่า "โปง" และ "ลาง"โปง เป็นสิ่ง
ที่ใช้ตีบอกเหตุ เช่น ตีในยามวิกาลแสดงว่ามีเหตุร้ายตีตอนเช้าก่อนพระบิณฑาตให้ญาติโยมเตรียมตัวทำบุญตักบาตร และตีเวลาเย็นเพื่อประโยชน์ให้คนหลงป่ากลับมาถูก เพราะเสียงโปงลางจะดังกังวาลไปไกล ( สมัยก่อนใช้ตีในวัด) ส่วนคำว่า ลาง นั้น หมายถึง ลางดี ลางร้าย
      โปงลาง หรือ เกราะลอ มีประวัติโดยย่อ คือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้ที่คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียน
แบบ "เกราะ" ที่ใช้ตีตามหมู่บ้าน ในสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หลากเลื่อม ( ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล ) ใช้เถาวัลย์มัดร้อย เรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูกนก กา ที่มีกินข้าวในไร่ ในนา ต่อมาท้าวพรหมโคตรได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านกลางเมือง จังหวัด กาฬสินธุ์และได้ถ่าย
ทอดการตีเกราะลอให้แก่นายปาน คือ เสียง โด เร มี ซอล และ ลา เมื่อนายปานเสียชีวิต นายขานน้องชายนายปานได้รับการถ่าย
ทอดการตีเกราะลอให้กับศิลปินแห่งชาติผู้พัฒนาโปงลางให้เป็นที่รู้จัก คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี
โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัวมากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียง ที่ต้องการในระบบ 5 เสียง โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับขา หรือเอวของผู้ตี วิธีการเทียบเสียง โปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาด และเสียงตามต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใดเสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบัน 
ที่มีเจ็ดเสียง และมีการปรับแต่งเทียบเสียงด้วยการใช้ ตะกั่วผสมขี้ผึ้ง ถ่วงใต้ผืนระนาด เพื่อให้ได้ระดับเสียง และคุณภาพเสียงที่ต้องการ การบรรเลงหมากกลิ้งกล่อม หรือโปงลาง นิยมใช้ผู้บรรเลงสองคนต่อเครื่องดนตรีหนึ่งชิ้น แต่ละคนใช้ไม้ตี ๒ อัน การเรียกชื่อเพลงที่บรรเลงด้วยโปงลางมักจะเรียกตามลักษณะและลีลาของเพลงโดยการสังเกตจากสภาพของธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น เพลง "ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" หรือเพลง "ลายกาเต้นก้อน" เป็นต้น 

              โปงลางนั้นนอกจากจะใช้บรรเลงตามลำพังแล้ว ยังนิยมใช้บรรเลงเป็นวงร่วมกับ เครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น พิณ แคน กลอง เพื่อการฟังและใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนพื้น บ้านอีสานได้เป็นอย่างดี ต่อมาภายหลัง อาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ ได้ประยุกต์วงโปงลางขึ้นใหม่ โดยนำกระดึงผูกคอวัวที่เป็นโลหะมาแขวนเรียงแทนลูกโปงลางเดิมที่ทำด้วยไม้ ทำให้เกิดมิติของเสียงที่แตกต่างจากการบรรเลงโปงลางแบบเดิม นับเป็นต้นแบบของ การพัฒนาโปงลางในระยะต่อมา เช่น การทำลูกโปงลางด้วยแผ่นทองเหลืองขนาดต่าง ๆ รวมถึงการนำเอาไม้ไผ่มาเหลาให้มีขนาดลดหลั่นกัน ทำให้ได้เสียงที่ทุ้มและนุ่มนวลขึ้น
 ต้นกำเนิดโปงลาง
โปงลาง บางแห่งเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากเตอะเติน เป็นเครื่องดนตรีที่พัฒนามาจาก "เกราะลอ" หรือ ขอลอ คำว่า "โปงลาง" นี้ ใช้เรียกดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นแพร่หลายทางภาคอีสานตอนกลางและตอนเหนือบางส่วน โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเล่นแพร่หลายมาก เพราะเป็นที่กำเนิดโปงลาง ความหมายของโปงลางนั้นมาจากคำ ๒ คำ คือ คำว่า "โปง" และ "ลาง" 
โปง เป็นสิ่งที่ใช้ตีบอกเหตุ เช่น ตีในยามวิกาลแสดงว่ามีเหตุร้าย ตีตอนเช้าก่อนพระบิณฑบาตให้ญาติโยมเตรียมตัวทำบุญตักบาตร และ ตีเวลาเย็นเพื่อประโยชน์ให้คนหลงป่ากลับมาถูก เพราะเสียงโปงลางจะดังกังวาลไปไกล (สมัยก่อนใช้ตีในวัด) ส่วนคำว่า ลาง นั้น หมายถึง ลางดี ลางร้าย 
โปงลางนั้นก่อนที่จะเรียกว่า โปงลาง มีชื่อเรียกว่า "เกราะลอ" ซึ่ง เกราะลอ มีประวัติโดยย่อคือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้ที่คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบ "เกราะ" ที่ใช้ตีตามหมู่บ้านในสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หมากเลื่อม (ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล ) ใช้เถาวัลย์มัดร้อยเรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูงนก กา ที่มากินข้าวในไร่ ในนา ต่อมาท้าวพรหมโคตร ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านกลางเหมือน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้แก่นายปาน นายปานได้เปลี่ยนเกราะลอ จากเดิมมี 6 ลูก เป็น 9 ลูก มี 5 เสียง 
คือ เสียง โด เร มี ซอล และ ลา เมื่อนายปานเสียชีวิต นายขานน้องนายปานได้รับการถ่ายทอดการตีเกราะลอ และนายขานนี่เองที่เป็นคนถ่ายทอด การตีเกราะลอให้กับศิลปินแห่งชาติผู้พัฒนาโปงลางให้เป็นเครื่องดนตรีที่ใครๆ ก็รู้จัก นายเปลื้อง ฉายรัศมี เนื่องจากเกราะลอใช้สำหรับตีไล่ ฝูงนก กา ที่มากินข้าวในไร่นา ดังนั้น จึงมีเกราะลออยู่ในทุกโรงนา (อีสานเรียกว่า เถียงนา) เมื่อเสร็จจากภาระกิจในนาแล้ว ชาวนาจะพักผ่อนในโรงนาและใช้เกราะลอเป็นเครื่องตี เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเกราะลอนี้จะตีนอกหมู่บ้านเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าตีในหมู่บ้านจะเกิดเหตุการไม่ดี เช่น ฟ้าฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น 
การเรียนการตีเกราะลอในสมัยก่อน เป็นการเลียนแบบ คือเป็นการเรียนที่ต้องอาศัยการจำโดยการจำทำนองของแต่ละลาย เกราะลอที่มี 9 ลูกนี้จะเล่นได้ 2 ลายคือ ลายอ่านสือใหญ่ (อ่านหนังสือใหญ่) และลายสุดสะแนน (เช่นเดียวกับลายแคนและลายพิณ ดังนั้นเมื่อนำมาเล่นผสมผสานกันจึงได้อรรถรสยิ่งนัก)

              ทำนองลายโปงลางที่บรรเลงนั้น ได้จากการเลียนเสียงธรรมชาติและชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของชาวอีสาน เช่น
๑. ลายลมพัดพร้าว ลีลาของเพลงแสดงถึง เสียงลมที่พัดมาถูกใบมะพร้าวจะแกว่งสะบัดตามแรงลมกลายเป็นเสียงและลีลาที่น่าฟังยิ่ง
๒. ลายโปงลาง ลีลาของเพลงนี้จะทำให้ผู้ฟังนึกถึงเสียงกระดิ่งผูกคอวัวที่ดังอยู่ไม่ขาดระยะมองเห็นวัดเดินตามกันเป็นทิวแถวข้ามทุ่ง
๓. ลายช้างขึ้นภู ลีลาของเพลงจะมีความเนิบช้าสง่างาม เหมือนลีลาการเดินของช้าง ที่กำลังเดินขึ้นภูเขาสูง ด้วยความเนิบช้าสง่างาม
๔. ลายแมงภู่ตอมดอก ลีลาของเพลงจะทำให้มองเห็นภาพของแมลงภู่ ที่บินวนเวียน ดูดน้ำหว่านจากเกษรดอกไม้เป็นหมู่ๆ พร้อบกับส่งเสียงร้องด้วยความสดชื่นรื่นเริง
๕. ลายนกไซบินข้าทุ่ง ลีลาของเพลงบรรยายถึงลีลาของนกที่บินเป็นหมู่ข้ามท้องทุ่ง อันเขียวขจีด้วยนาข้าว
๖. ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลีลาของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงความอ้างว้างว้าเหว่ของหญิงที่ถูกสามีทอดทิ้งต้องกล่อมลูกอยู่เดียวดาย ตามลำพัง
๗. ลายภูไทยเลาะตูบ ลีลาของเพลงแสดงถึงภาพชีวิตของหนุ่มชาวภูไทที่มักจะแวะเวียนไปพูดกับหญิงสาวตามบ้านต่างๆ ในเวลาค่ำ
นอกจากนั้นยังมีลาย "กาเต้นก้อน" จะใช้เทียบเสียงโปงลางแต่ละลูกหลังจากทำเสร็จ เรียบร้อยซึ่งถือเป็นลายครูของโปงลาง และลายอื่นๆ อีก ซึ่งถือเป็นลายหลัก คือ อ่านหนังสือ ใหญ่ อ่านหนังสือน้อย สุดสะแนน ลายสร้อย และลายเซ ซึ่งเพียงฟังจากชื่อก็จะรับรู้ถึง ท่วงทำนองของเพลงที่ กลั่นกรองมาจากชีวิตพื้นบ้าน และธรรมชาติรอบข้าง

       "โปงลาง " เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอีสานชนิดหนึ่งที่ถือกำเนิดที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจโดยเฉพาะผู้สืบทอด และอนุรักษ์ไว้ คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ "โปงลาง" จึงควรแก่การอนุรักษ์ และถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบและตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม และคุณความดีของบุคคลที่น่ายึดถือเป็น แบบอย่างสืบทอดไว้ตราบชั่วกาลนาน ศิลปวัฒนธรรมอีสานสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของคนในสังคม ตลอดเวลาอันยาวนานมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวที่มีค่าควรแก่การอนุรักษ์ และเผยแพร่ให้แก่คนอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป



บรรณานุกรม

ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง(2556) “ประวัติโปงลาง - กระทรวงวัฒนธรรม”   (ออนไลน์) สืบค้นจาก
             http://www.m-culture.go.th/kalasin/index.php/องค์ความรู้-3/องค์ความรู้-ละเอียด/item/ประวัติโปงลาง       วันที่ สืบค้น   20 ตุลาคม 2557.
   
อาสาสมัครวิกิพีเดีย(2557) “โปงลาง“  (ออนไลน์) สืบค้นจาก
              http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=      วันที่ สืบค้น   20 ตุลาคม 2557.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น